การสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด






ขั้นตอนการสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุด
          การสืบค้นสารสนเทศ เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการเรียนในสังคมสารสนเทศ เพราะการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ถูกต้องและตรงความต้องการ ตลอดจนความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมถึงการเพิ่มขึ้นของสารสนเทศในปัจจุบัน ทำให้สารสนเทศหรือองค์ความรู้ต่างๆถูกบันทึกหรือจัดเก็บอยู่ในสื่อที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการจัดเก็บในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์ต่างๆ  ดังนั้น การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดในปัจจุบันจึงมีความเกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการแสวงหาสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นหลัก โดยการสืบค้นสารสนเทศห้องสมุดโดยใช้เทคโนโลยีมีดังนี้
1.       การสืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุด  
2.       การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ 
ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1.      การสืบค้นฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุด  
          ฐานข้อมูลบรรณานุกรมของห้องสมุด   เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดแต่ละแห่ง ซึ่งในปัจจุบันห้องสมุดส่วนใหญ่ได้มีการนำเอาระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ลักษณะของฐานข้อมูลชนิดนี้โดยมากให้เพียงรายละเอียดทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดเท่านั้น เช่น ฐานข้อมูล OPAC
                    การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศภายในสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคามด้วยระบบออนไลน์ หรือที่เรียกว่า WebOPAC หรือ Web Online Public Access Catalog เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ ได้แก่ หนังสือ วารสาร จุลสาร รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมทั้งสื่อโสตทัศนวัสดุ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยสืบค้นผ่านทางหน้าเว็บไซต์ของสำนักวิทยบริการที่ http://www.library.msu.ac.th    ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                    1.1 ขั้นการสืบค้น 
                             เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  http://www.library.msu.ac.th  เลือกหัวข้อสืบค้นทรัพยากรห้องสมุด แล้วพิมพ์คำค้น โดยกำหนดทางเลือกในการค้น แล้วคลิกปุ่มค้นหา  ทางเลือกในการค้นหามีจำนวน  5  ทางเลือก  ได้แก่
                                       1)  ผู้แต่ง (Author) หมายถึง ผู้แต่ง ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปลชื่อนิติบุคคล และชื่อรายงานการประชุมสัมมนา สำหรับผู้แต่งที่เป็นชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ชื่อต้น และชื่อกลาง
                                       2) ชื่อเรื่อง (Title) หมายถึง ชื่อเรื่องของทรัพยากรสารสนเทศ
                                       3) หัวเรื่อง  (Subject) หมายถึง คำหรือวลีที่กำหนดขึ้นเพื่อบ่งบอกถึงเนื้อหาสาระสำคัญของหนังสือ เอกสาร หรือบทความ ตลอดจนทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ทุกชนิด
                                       4) เลขเรียกหนังสือ (Call Number) หมายถึง สัญลักษณ์ที่กำหนดให้กับทรัพยากรสารสนเทศประกอบด้วยเลขหมู่ พยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เลขประจำตัวผู้แต่ง และพยัญชนะตัวแรกของชื่อเรื่อง เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของวัสดุนั้นๆ ในห้องสมุด
                                       5)  คำสำคัญ (Keyword) หมายถึง คำ หรือ วลี ที่ปรากฏอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง/ชื่อชุด/สารบัญ/บทคัดย่อ ฯลฯ ซึ่งจะใช้ในกรณีที่ไม่ทราบทั้งชื่อเรื่อง ผู้แต่ง และหัวเรื่อง
              * ถ้าเริ่มต้นสืบค้นโดยที่ไม่ทราบชื่อผู้แต่งหรือชื่อเรื่อง ให้เลือกสืบค้นจากขอบเขต "คำสำคัญ"

กล่องข้อความ: http://www.library.msu.ac.thกล่องข้อความ: สืบค้นทรัพยากรห้องสมุดด้วย WebOPAC
                  


 1.2 ขั้นผลการสืบค้น 
                             ผลการสืบค้นจะพบว่า มีการแสดงผลการสืบค้น ได้แก่ บรรณานุกรม ชื่อเรื่อง สถานที่จัดเก็บ เลขเรียก และสถานภาพ  ให้ตรวจสอบดูสถานที่จัดเก็บหนังสือที่ต้องการนั้นว่าจัดเก็บอยู่ที่ใด มีสถานภาพอยู่บนชั้น ถูกยืมออกไปแล้ว หรือห้ามยืมออก  ผู้ใช้สามารถดูประเภทของทรัพยากรและสถานที่จัดเก็บ จากนั้นให้จดเลขเรียกแล้วหยิบหนังสือบนชั้น แล้วนำไปยืมที่เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ  ทั้งนี้ ห้องสมุดจะมีการใช้สัญลักษณ์ของสารสนเทศ เช่น วิทยานิพนธ์ (วจ.)  หนังสืออ้างอิง (อ.) 

กล่องข้อความ: รายการบรรณานุกรม


2.      การสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์ 
                   เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศโดยผ่านระบบคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม โดยผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าบริการฐานข้อมูล ห้องสมุดส่วนใหญ่จะสมัครเป็นสมาชิกฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งจะครอบคลุมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ และสามารถสืบค้นได้เป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full-text)        โดยรายชื่อฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำคัญที่ห้องสมุดของสถาบันอุดมศึกษาหลาย ๆ แห่งมักจัดหาฐานข้อมูลออนไลน์มาให้บริการเนื่องจากมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ และผู้ใช้สามารถสืบค้นได้หลายคนในเวลาเดียวกัน อีกทั้งประหยัดเวลาในการค้นหา และได้ข้อมูลเป็นเอกสารฉบับเต็ม (Full-text)
                   2,1  รายชื่อฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำคัญ ได้แก่
                             1)  IEEE/IEL Electronic Library เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ที่รวบรวมสิ่งพิมพ์ในสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2) ACM Digital Library เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาการคอมพิวเตอร์ ครอบคลุมสารสนเทศจากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง บทความวารสาร นิตยสาร รายงาน เอกสารการประชุมและข่าวสาร
                             3) MEDLINE    เป็นฐานข้อมูลออนไลน์ที่รวบรวมสิ่งพิมพ์ด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลก ครอบคลุมวารสารทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
4) ScienceDirect  เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการแพทย์
5)  Wiley Online Library    เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งครอบคลุมสาขาวิชาทางด้าน Life, Health, Physical Sciences, Social Sciences และ Humanities ให้บริการบทความวิจัยและบทความวิชาการมากกว่า 4 ล้านเรื่อง จาก 150 ชื่อวารสาร
                   6)  Web of Science   เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรม และสาระสังเขป พร้อมการอ้างอิงและอ้างถึง ที่ครอบคลุมสาขาวิชาหลักทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์
                   7) H.W. Wilson         เป็นฐานข้อมูลดรรชนี สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็มครอบคลุมทุกสาขาวิชาดังนี้ Applied Science & Technology, Art, Business, Education, General Science, Humanities, Library and Information Science, Social Sciences, Law, General Interest และ Biological & Agricultural Science
                   8) ProQuest Dissertations & Theses เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกามากกว่า 1,000 แห่ง ประกอบด้วยข้อมูลมากกว่า 2.7 ล้านรายการ
                            
2.2 วิธีการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
                   1)  ขั้นเริ่มต้นการสืบค้น  เข้าไปที่เว็บไซต์สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม              ที่ http://www.library.msu.ac.th  เลือกประเภทฐานข้อมูลออนไลน์ที่ต้องการ เช่น Science Direct  สำหรับสืบค้นบทความวารสาร

กล่องข้อความ: Science Direct
                   



          2)  ขั้นพิมพ์คำค้น  โดยใช้คำเดี่ยว คำผสมเพียง 1 คำ หรือวลี ที่เป็นการสืบค้นแบบง่าย (Basic Search) หรือเลือกการสืบค้นแบบขั้นสูง (Advanced Search)  แล้วกดปุ่มค้นหา



          3) ขั้นผลการสืบค้น  เป็นแบบแสดงรายการบรรณานุกรม บทคัดย่อ และเอกสารฉบับเต็ม

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้สารสนเทศและการสังเคราะห์ (Use of Information and Synthesis)

แหล่งสารสนเทศและการประเมิน

Big 6 Skills กับการรู้สารสนเทศ