แหล่งสารสนเทศและการประเมิน




แหล่งสารสนเทศและการประเมิน


เนื้อหา
ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ประเภทของแหล่งสารสนเทศ ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ การเลือกและการประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ

 แนวคิด
การกำหนดกลยุทธ์ในการสืบค้นเป็นการระดมความคิดในการเลือกสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องว่าควรมาจากแหล่งใด และการวางแผนว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้สารสนเทศจากแหล่งเหล่านั้น เมื่อได้สารสนเทศแล้วจะต้องเลือกและประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศเหล่านั้นอย่างไร


ความหมายของแหล่งสารสนเทศ
          
   แหล่งสารสนเทศ หมายถึง แหล่งที่เกิด แหล่งที่ผลิต แหล่งรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ และเผยแพร่สารสนเทศในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา มีบทบาทหน้าที่ต่อสังคมเพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้แสวงหาสารสนเทศนั้น ๆ

ประเภทของแหล่งสารสนเทศ
แหล่งสารสนเทศสามารถแบ่งออกได้เป็น  6 แหล่ง ดังนี้ 
1) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน (Information Services Resources)   เช่น ห้องสมุด สำนักวิทยบริการ ศูนย์สารสนเทศ พิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ศูนย์วัฒนธรรม และหอศิลป์ เป็นต้น
2) แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ (Place Resources)   เช่น ปราสาทเขาพระวิหาร สวนส้ม ไร่นาสวนผสม ฟาร์มจระเข้ และเมืองโบราณ เป็นต้น  
3) แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล (Personal Resources)  ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้รอบรู้ในสาขาวิชาต่างๆ  
4) แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ (Event Resources) ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น 14 ตุลา ในปี พ.. 2516 พฤษภาทมิฬ ในปี พ.. 2535 เหตุการณ์ 911 หรือ การก่อการร้ายตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 การจัดกิจกรรม งานมหกรรม งานบุญประเพณี หรือการประชุมสัมมนาในเรื่องต่างๆ  
5) แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน (Mass Media Resources)  เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็นต้น  การเปิดรับข่าวสารหรือสารสนเทศผ่านสื่อมวลชนผู้ใช้ต้องมีวิจารณญาณว่าจะเชื่อถือข่าวสาร สารสนเทศใด
6) แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต (Internet Resources) เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลกมีข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศมากมาย   เช่น ฐานข้อมูลห้องสมุด ฐานข้อมูลออนไลน์ วารสารและจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ บริการทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย โปรแกรมค้นหา และข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยใช้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น บริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล การสนทนาทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการเวิลด์ไวด์เว็บ และสื่อสังคม เป็นต้น

ทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials)
ทรัพยากรสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และ ความคิดต่างๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials) ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non printed Materials) และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) 

ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ
1. ทรัพยากรตีพิมพ์ (Printed Materials)  เช่น หนังสือ วารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และกฤตภาค เป็นต้น เป็นการรับรู้สารสนเทศได้โดยตรงและง่าย ๆ จากทรัพยากรประเภทนี้ จำแนกได้ดังนี้ 
1.1 หนังสือ (Book)   เช่น หนังสือสารคดี ตำรา แบบเรียน วิทยานิพนธ์ ใช้ในการอ่านเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และนวนิยาย เรื่องสั้นที่ให้ความบันเทิง จรรโลงใจในการอ่าน
1.2 วารสาร (Periodicals)  แบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ วารสารวิชาการ (Journal)    วารสารบันเทิง (Magazine)  และ วารสารเชิงวิพากษ์วิจารณ์ 
1.3 หนังสือพิมพ์ (Newspapers) ให้สารสนเทศรายวัน เป็นการรายงานข่าวเเหตุ การณ์ประจำวัน ความเปลี่ยนแปลง ความเป็นไปของสังคมนั้นๆ ให้เป็นที่ทราบโดยทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด 
1.4 จุลสาร (Pamphlet) เป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน 
1.5 กฤตภาค (Clipping) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นำเรื่องราว สารสนเทศที่สำคัญจากหนังสือพิมพ์ วารสาร หรือแผ่นพับ นำมาตัดแล้วผนึกลงบนกระดาษแล้วรวบรวมไว้ให้ผู้ช้ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป มีการจัดเก็บใส่แฟ้ม แยกเป็นเรื่องๆ 
2. ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ (Non-print Material) คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญ ที่ แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ความรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการ ฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่ายจำแนกได้ดังนี้
2.1 ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรที่ใช้การมองเห็นหรือสัมผัสเพื่อรับรู้สารสนเทศ โดยการดู 
2.2 โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่รับรู้สารสนเทศด้วยการฟังเสียงเพียง อ
2.3 โสตทัศนวัสดุ (Audiovisual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่ให้เสียง และภาพเคลื่อนไหว 
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Materials) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศที่อยู่ในรูปของ ดิจิทัล (Digital) จำแนกออกเป็น
3.1 ฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นสารสนเทศที่สี่อสารกันได้เฉพาะคอมพิวเตอร์ เครื่องหนึ่งเครื่องใดเท่านั้น
3.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ เป็นแหล่งสารสนเทศที่ผู้ใช้สามารถสืบค้นได้จากระบบเครือข่ายที่จัดให้บริการ  ปัจจุบันนี้ระบบที่ใช้กันในชีวิตประจำวันก็คืออินเทอร์เน็ต
นอกจากนี้ทรัพยากรสารสนเทศสามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1.       สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information)
2.       สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information)
3.       สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information)

การเลือกสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ
การเลือกสารสนเทศ หมายถึง การพิจารณาว่าสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศนั้น ๆ มีประโยชน์ และตรงกับความต้องการที่จะใช้หรือไม่
1.       กำหนดปัญหาและขอบเขตของสารสนเทศที่ต้องการ
2.       เลือกหัวข้อเรื่องที่สนใจโดยกำหนดรายละเอียดเป็นหัวข้อต่าง ๆ
3.       เลือกแหล่งสารสนเทศที่ต้องการ
4.       เครื่องมือที่ใช้เลือกสารสนเทศ
5.       กระบวนการเลือกสารสนเทศ
6. มีความสอดคล้องกับเนื้อหาสารสนเทศที่ต้องการ 
7. การพิจารณาความน่าเชื่อถือในตัวทรัพยากรสารสนเทศ  
8. ความทันสมัยของเนื้อหา

การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ
การประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศ หมายถึง การรวบรวมสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ 
1.       เลือกสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ หรือเลือกเฉพาะรายการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กำลังศึกษาเท่านั้น น
2.       พิจารณาจากประเภทและแหล่งทีมาของสารสนเทศ
3.       พิจารณาผู้เขียนว่ามีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในด้านนั้น ๆ เ
4.       พิจารณาชื่อวารสารที่ตีพิมพ์
5.       พิจารณาความทันสมัยของสารสนเทศ
6.       พิจารณาการเชื่อมโยงสารสนเทศ

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดกลยุทธ์ในการสืบค้น  (Information Seeking Strategies)
                    
ขั้นตอนที่ 2 เป็นการระดมความคิดที่มีทั้งหมดในการเลือกแหล่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและวางแผนว่าจะทำอย่างไรจึงจะได้สารสนเทศจากแหล่งเหล่านั้น เมื่อได้สารสนเทศแล้วจะต้องเลือกและประเมินแหล่งสารสนเทศเหล่านั้นอย่างไร ในขั้นตอนนี้ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่
1. ระดมสมองว่ามีแหล่งใดบ้างที่น่าจะพบสารสนเทศที่ต้องการ 
2.ประเมินแหล่งสารสนเทศว่าแหล่งใดดีที่สุด
ในขั้นตอนนี้นิสิตต้องตอบคำถาม ดังนี้
1. เริ่มต้นค้นหาสารสนเทศอย่างไร
2. ถามจากใครจึงจะได้สารสนเทศ
3. แหล่งสารสนเทศที่ดีที่สุดที่จะใช้คืออะไร
4. ประเภทของสารสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ข้อมูล รูปภาพ ทัศนคติ เป็นต้น  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้สารสนเทศและการสังเคราะห์ (Use of Information and Synthesis)

Big 6 Skills กับการรู้สารสนเทศ