รายละเอียดวิชา 0033004 เทคโนโลยีสารสนเทศ



มคอ.3                   0033004   เทคโนโลยีสารสนเทศ
รายละเอียดของรายวิชา
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิทยาเขต/ภาควิชา
สำนักศึกษาทั่วไป
หมวดที่ 1 ข้อมูลโดยทั่วไป
1. รหัสและชื่อรายวิชา
      0033 004  เทคโนโลยีสารสนเทศ    
       Information Technology
2. จำนวนหน่วยกิต
      2 หน่วยกิต  (2-0-4)
3. หลักสูตรและประเภทของรายวิชา
      ปริญญาตรี หมวดวิชาศึกษาทั่วไป และเป็นวิชาศึกษาทั่วไปเลือก  กลุ่มวิชาเลือกเพิ่มเติม
4. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาและอาจารย์ผู้สอน
            อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
กลุ่มเรียนที่
อาจารย์ผู้สอน

ผศ.ชุน เทียมทินกฤต

อ.ดร. รุ่งทิพย์  เจริญศักดิ์

ผศ. ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา

อ. ดร.สถิติพงษ์ เอื้ออารีย์มิตร

ดร.โสภณวิชญ์ คำพิลัง

ผศ.ดร.แกมกาญจน์ สมประเสริฐศรี

อ.ภาธร นิลอาธิ

อ.ภัทธิรา  สุวรรณโค

ผศ.วิลาวัลย์  พรพัชรพงศ์

ดร.ฤทัย นิ่มน้อย

ดร.จักรกฤษณ์ แสงแก้ว
5. ภาคการศึกษา / ชั้นปีที่เรียน
      ภาคการศึกษาที่ 2 /2559 ชั้นปีที่ 1-3
6. รายวิชาที่ต้องเรียนมาก่อน (Pre-requisite) (ถ้ามี)
      ไม่มี
7. รายวิชาที่ต้องเรียนพร้อมกัน(Co-requisite) (ถ้ามี)
      ไม่มี
8. สถานที่เรียน
      มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
9. วันที่จัดทำหรือปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาครั้งล่าสุด
      12 กรกฎาคม  2559
หมวดที่ 2 จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์
1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
    1.  เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มัลติมีเดีย และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
    2.  เพื่อให้นิสิตสามารถสืบค้น วิเคราะห์ และใช้สารสนเทศได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ  
    3. เพื่อให้นิสิตมีทักษะในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ในการนำเสนองาน ประมวลผลคำ และการคำนวณ
    4.  เพื่อให้นิสิตใช้สารสนเทศ อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา
    -
หมวดที่ 3 ลักษณะและการดำเนินการ
1.      คำอธิบายรายวิชา

         เทคโนโลยีสารสนเทศ  มัลติมีเดีย เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการนำไปใช้ การใช้โปรแกรมประยุกต์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานสารสนเทศ การสืบค้นสารสนเทศ การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

Information technology, multimedia, geo-informatics system technology and applications, use of essential computer software, information, information retrieval, information usage conforming to laws and ethics


2. จำนวนชั่วโมงที่ใช้ต่อภาคการศึกษา
บรรยาย
สอนเสริม
การฝึกปฏิบัติ/งานภาคสนาม/การฝึกงาน
การศึกษาด้วยตนเอง
30
0

0

8
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นิสิตเป็นรายบุคคล
      ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการเฉพาะราย

หมวดที่ 4 การพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิต
1. คุณธรรม จริยธรรม
1.1 คุณธรรมและจริยธรรมที่ต้องได้รับการพัฒนา
[] (1)  มีความซื่อสัตย์สุจริต
[] (2)  มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร และอดทน
[] (3)  มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกติกาขององค์กรและสังคม ยึดมั่นใน
หลักประชาธิปไตย
[] (4)  ตระหนักถึงโทษภัยของสิ่งเสพติด สิ่งมอมเมา และอบายมุขต่าง ๆ
[] (5)  มีจิตสำนึกที่ดีต่อการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคม มีน้ำใจและความเสียสละ จิตอาสา จิตสาธารณะ

    1.2 วิธีการสอน
           (1)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกกิจกรรมที่ได้พัฒนาด้านคุณธรรม  จริยธรรม
ในทุกรายวิชา
            (2)  เน้นการเรียนรู้ในกิจกรรมที่ให้นิสิตได้ปฏิบัติในสถานการณ์จริงโดยนำสิ่งที่เรียนรู้
ในรายวิชาไปปฏิบัติจริงในการปฏิบัติงาน
            (3)  เรียนรู้และฝึกจากกรณีตัวอย่างที่ครอบคลุมประเด็นปัญหาทางด้านคุณธรรม  จริยธรรมเพื่อให้นิสิตฝึกแก้ปัญหา

     1.3 วิธีการประเมินผล
          (1)  ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนิสิตในการเข้าเรียน  การส่งงานตามกำหนด  ระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
          (2)  ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนิสิตในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริม
          (3)  ประเมินจากการปฏิบัติงานหรือสร้างผลงานที่เป็นความรู้ความสามารถของตนเอง
โดยไม่แอบอ้างหรือลอกเลียนผลงานบุคคลอื่น
   (4)  ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

2. ความรู้
     2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
                         [
] (1)  มีความรู้เกี่ยวกับตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ อาหาร อารมณ์ การออกกำลังกาย การพักผ่อน และการพัฒนาตนเองเพื่อยกระดับจิตวิญญาณ
[] (2)  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านกายภาพ ได้แก่ ด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สื่อ สารสนเทศ สิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ทางกายภาพของโลก และจักรวาล
[] (3)  มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านเศรษฐกิจ มีความรู้พื้นฐานด้านการเงิน การบัญชี ธุรกิจ และการประกอบการ
[] (4)  มีความรู้ความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ความรู้พื้นฐานด้านกฎหมาย มานุษยวิทยาและสังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ การเมือง การปกครอง
[] (5)  มีความรอบรู้สากลที่จำเป็น ทั้งด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม ทั้งในประเทศ อาเซียน และโลก


     2.2 วิธีการสอน
            จัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ  ไม่ว่าจะเป็นการบรรยาย  อภิปราย  การปฏิบัติงานกลุ่ม  การลงมือปฏิบัติจริงในสถานศึกษา  โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง  ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของวิชา  ตลอดจนเนื้อหาสาระของวิชานั้น ๆ และจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง


     2.3 วิธีการประเมินผล
          ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนิสิตด้านต่าง ๆ  คือ
(1)  การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
(2)  ประเมินจากงานที่นิสิตจัดทำตามใบงาน
(3)  ประเมินจากการนำเสนอผลงาน
(4)  ประเมินจากแบบฝึกหัด
(5)  ประเมินจากรายวิชาที่เกี่ยวข้อง

3. ทักษะทางปัญญา
     3.1 ทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา
           [
] (1)  สามารถควบคุมและพัฒนาตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ดี
[] (2)  สามารถค้นหาข้อมูล/หลักฐาน รวบรวมข้อมูล แปลความหมาย ลงความเห็น และสื่อความหมาย ข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือ
[] (3)  มีทักษะการคิดอย่างเป็นองค์รวม มีวิจารณญาณ สามารถคิดวิเคราะห์ และบูรณาการความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นระบบ  มีทักษะการแสวงหาความรู้ตลอดชีวิต
[] (4)  มีทักษะในการทำงาน สามารถวางแผน จัดการ และปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดี  สามารถบูรณาการความรู้และนำความรู้ไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้
[] (5) มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรม การสร้างอาชีพ
การเป็นผู้ประกอบการ และการพึ่งตนเอง

3.2 วิธีการสอน
         (1)  การวิเคราะห์สังเคราะห์และนำมาสู่การอภิปราย
(2)  ศึกษาดูงาน และการเรียนรู้จากสภาพจริง
(3)  ให้นิสิตมีโอกาสลงมือปฏิบัติจริง

     3.3 วิธีการประเมินผล
            ประเมินจากสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนิสิต  เช่น  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน  จากการปฏิบัติงานและผลงาน การทดสอบโดยใช้การสอบกลางภาคและ
ปลายภาค โดยข้อสอบมีการวิเคราะห์แนวคิด

4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
          [
]  (1)  เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
[] (2)  มีวินัยในตนเอง มีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ รับผิดชอบต่อชุมชน และสังคม มีจิตสาธารณะ
[] (3)  มีทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ยอมรับความคิดเห็นและเคารพสิทธิเสรีภาพของคนอื่นและเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์
[] (4)  มีทักษะความร่วมมือ ทักษะการทำงานเป็นทีม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมั่นใจในตนเอง และรู้จักเชื่อใจผู้อื่น

4.2 วิธีการสอน
          (1)  กลยุทธ์การสอนที่เน้นการสร้างสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้สอน  ผู้เรียนกับบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมและสนับสนุน และผู้เรียนกับผู้ที่ร่วมทำงาน
(2)  กลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานในฐานะผู้นำ  ผู้ตามที่ดี
(3)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้อย่างดี
(4)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสภาพจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและบุคคลทั่วไป

     4.3 วิธีการประเมินผล
(1)  ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนิสิตในการปฏิบัติงานตามกิจกรรมการเรียนการสอน
(2)  ประเมินจากทักษะการแสดงออกในภาวะผู้นำ  ผู้ตามจากสถานการณ์การเรียนการสอนที่กำหนดให้ทำ
(3)  ประเมินความสามารถในการทำงานเป็นทีมและการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น

5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา
            [
] (1)  สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ และใช้ภาษาต่างประเทศอื่นที่สนใจ ในการสื่อสารที่จำเป็นได้
            [] (2)  สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข แปลความหมายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเลขและตัวแปร สามารถอธิบายความในรูปแบบกราฟภาพ ข้อมูลเชิงสถิติ และแปลผลค่าแนวโน้มทางสถิติได้อย่างเหมาะสม
           [] (3)  สามารถวิเคราะห์ รู้เท่าทันสื่อแอบแฝง ประเมินความน่าเชื่อถือ และเลือกนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม
           [] (4)  สามารถประเมินสถานการณ์ต้นทุน กำไร และความคุ้มค่าได้
           [] (5)  สามารถเลือกและใช้วัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องอำนวยความสะดวก สื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ ในการสื่อสาร และเทคโนโลยีที่จำเป็นในชีวิตประจำวันได้ดี

 5.2 วิธีการสอน
         (1)  จัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเลือกและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้หลากหลายรูปแบบ
(2)  จัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ใช้การสื่อสารทั้งการพูด  การฟัง  การเขียนระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน  และบุคคลอื่น
(3)  จัดประสบการณ์ให้นิสิตได้เรียนรู้ ในสถานการณ์ที่ต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและสื่อสารข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

     5.3 วิธีการประเมินผล
(1)  ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด  เหตุผลในการเลือกใช้ทฤษฎี การสอน  การอภิปราย  กรณีศึกษาต่าง ๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
(2)  ประเมินผลงานตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัด
(3)  ประเมินจากการวิเคราะห์ข้อมูลการทำรายงานและกิจกรรมในห้องเรียน


หมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล
1. แผนการสอน
สัปดาห์ที่
หัวข้อ/รายละเอียด
จำนวนชั่วโมง
กิจกรรมการเรียนการสอน/สื่อที่ใช้
ผู้รับผิดชอบเอกสาร
1
แนะนำรายวิชา

สารสนเทศ
ความหมายของสารสนเทศ

2
1. การปฐมนิเทศรายวิชา
2. นำเสนอภาพรวมของกระบวนการเรียนรู้การรู้สารสนเทศรายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. บรรยายสรุปความหมายการรู้สารสนเทศและกระบวนการสารสนเทศ
4. ให้นิสิตเขียนความหมายของสารสนเทศและความแตกต่างของลักษณะการเรียนในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัย

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต www.library.msu.ac.th
4. คลิปวีดิทัศน์การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
       5. แบบฝึกหัดท้ายบท

2
การรู้สารสนเทศ
   ความหมาย
   ความสำคัญต่อการศึกษาอุดมศึกษา
   ความจำเป็นของการมีทักษะการรู้สารสนเทศสำหรับการศึกษาปริญญาตรี

Big 6 Skills กับการรู้สารสนเทศ
    ความหมายของ Big6Skills
    ขั้นตอนของ Big6Skills

Big 6 Skills  ขั้นตอนที่ 1   Task Definition
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท
5. ใบงาน 1 ให้นิสิตฝึกขั้นตอนที่ 1  Task Definition และสรุปเขียนผังมโนทัศน์    (5 คะแนน)

3
แหล่งสารสนเทศและการประเมิน       
        
Big 6 Skills  ขั้นตอนที่   
Information Seeking Strategies


2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท
5. ใบงาน 2  ให้นิสิตฝึกตามขั้นตอนที่ 2  Information Seeking Strategies และรายงานผลการค้นหาแหล่งสารสนเทศและผลการประเมินแหล่งสารสนเทศ (5 คะแนน)

4
การสืบค้นสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ต

Big 6 Skills  ขั้นตอนที่   
Location and Access
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท 3.1

5
การสืบค้นสารสนเทศจาก Web OPAC, Database Online, etc

Big 6 Skills  ขั้นตอนที่ 4  Use of information
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท 3.2
     5. ใบงาน 3 ให้นิสิตฝึกขั้นตอนที่ 3-4 และรายงานผลจากฝึกจาก Big 6 Skills  ทั้ง 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนที่ 3 ผลการสืบค้นสารสนเทศ และขั้นตอนที่ 4 ผลการสกัดเอาเฉพาะสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาใช้  (5 คะแนน)

6
การใช้และการสังเคราะห์ข้อมูล

Big 6 Skills  ขั้นตอนที่ 5  Synthesis
(ขั้นตอนนี้จะตรวจสอบจากชิ้นงาน word)

Big 6 Skills  ขั้นตอนที่ 6   
Evaluation
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
     4. แบบฝึกหัดในห้องเรียน
 
7
การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
2
 วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท

8
สอบกลางภาค



9
การใช้โปรแกรมประยุกต์ในการประมวลผลคำ
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. ใบงาน 4  ให้นิสิตฝึกการใช้ Word เพื่อนำเสนอผลงานที่ได้จากการทำงานตาม Big 6 Skills ขั้นตอนที่ 5  Synthesis การสังเคราะห์ข้อมูล (10 คะแนน)
อ.ภัทธิรา
10
การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการนำเสนองาน
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. ใบงาน 5 ให้นิสิตฝึกใช้ PPT เพื่อนำเสนองานจากใบงานที่ 1-4     

11
การใช้โปรแกรมประยุกต์เพื่อการคำนวณ
2
วิธีการสอน
1.                        บรรยาย
2.                        สาธิต
3. กรณีศึกษา

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. ใบงาน 5 ให้นิสิตฝึกใช้โปรแกรม EXCEL    เพื่อคำนวณตามที่ผู้สอนมอบหมาย (10 คะแนน)






12
เทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
   องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความสำคัญและประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
2
วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท
ดร.ลักษณา
13
ความหมายมัลติมีเดีย
    องค์ประกอบของมัลติมีเดีย
2
 วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท

14
เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและการนำไปใช้
2
 วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท    

15
สื่อสังคมและการใช้ในชีวิตประจำวัน
1. ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์
2. ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์
3. ประโยชน์และโทษของสื่อสังคมออนไลน์  
4. การประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในชีวิตประจำวัน  
2
 วิธีการสอน
1.บรรยาย
2. อภิปราย
3. กรณีศึกษา
3. สาธิต

สื่อการเรียน
1. สไลด์การสอน 
2. เอกสารประกอบการสอน
3. อินเทอร์เน็ต
4. แบบฝึกหัดท้ายบท

16
สอบปลายภาค



2. แผนการประเมินผลการเรียนรู้
     2.1 การวัดผล
กิจกรรม
ผลการเรียนรู้
วิธีการประเมิน
สัปดาห์ที่ประเมิน
สัดส่วนของการประเมินผล
1
2.1(2), 3.1(2),(3),(5),  5.1(2),(3),(5)
สอบกลางภาค (50 ข้อ)
สอบปลายภาค (50 ข้อ)
สัปดาห์ที่ 8
สัปดาห์ที่ 17
20 %
20 %
2
2.1(2), 3.1(2),(3),(5),  5.1(2),(3),(5)
ใบงาน
1.       Big 6
2.       Big 6
3.       Big 6
4.       Word
5.       PowerPoint
6.       Excel

สัปดาห์ที่ 2
สัปดาห์ที่ 3
สัปดาห์ที่ 5
สัปดาห์ที่ 9
สัปดาห์ที่ 10
สัปดาห์ที่ 11

5 %
5 %
5 %
10 %
10 %
10 %
3
2.1(2), 3.1(2),(3),(5),  5.1(2),(3),(5)
แบบฝึกหัดท้ายบท 15 ครั้ง
ทุกสัปดาห์ที่มี
15 %
4
1.1(1),(2),(3)
การเข้าชั้นเรียน
ทุกสัปดาห์
0 %
     2.2 การประเมินผล
ช่วงเกรด
เกรด
80-100
A
70-74
B
75-79
B+
60-64
C
65-69
C+
50-54
D
55-59
D+
0-49
F






หมวดที่ 6 ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน
1. ตำราและเอกสารหลักที่ใช้ในการเรียนการสอน
   เอกสารประกอบการสอนรายวิชา 0033004   เทคโนโลยีสารสนเทศ (ฉบับแก้ไข 2559)
2. เอกสารและข้อมูลสำคัญที่นิสิตจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติม
เกรียงไกร วิชระอนนท์. ทำ+เล่น ให้เป็น Blog.  กรุงเทพฯ : วิตตี้ กรุ๊ป, 2547.
จีราพรรณ สวัสดิพงษ์.  เทคนิคและวิธีการสืบค้นสารสนเทศ. เชียงใหม่ : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,  2543.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ.  การจัดการสารสนเทศเบื้องต้นกรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท, 2548.
ดวงพร เกี๋ยงคำ. คู่มือ Word 2010. กรุงเทพฯ : ดวงกมลสมัย, 2554.
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ และกิตติ ภักดีวัฒนะกุล.  ([บรรณาธิการ).  เทคโนโลยีมัลติมีเดียกรุงเทพฯ : วิซีพี, 2552.
ประสาท เนืองเฉลิม. การสืบค้นสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต.  มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและ การสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2554.
มณีนุช สมานหมู่. สร้างปรับแต่งและจัดการเอกสารด้วย Word 2010. กรุงเทพฯ : รีไวว่า, 2557.
วิเชียร วิสุงเร, นฤชิต แววศรีผ่อง ; รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์.  (บรรณาธิการ). การใช้โปรแกรมตารางงาน 
              Microsoft excel 2010ปทุมธานี : มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ เทคโนโลยี, 2556. 
วิชิต อู่อ้น.  การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ = Business research and information search.   
ปทุมธานี : ดอลล่าร์ ริช, 2550.
วิลาวัณย์ พรพัชรพงศ์. เทคนิคในการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการเขียนรายงาน.   มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยฃมหาสารคาม, 2549.
ศันสนีย์ สุวรรณเจตต์. ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ. กรุงเทพฯ : พิสิษฐ์การพิมพ์, 2546สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.  คู่มือฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.  กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี, 2541.
สิทธิชัย ประสานวงศ์. การใช้โปรแกรมประมวลคำ Microsoft word 2010. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2556.
สิทธิชัย ประสานวงศ์.  การใช้โปรแกรมนำเสนอข้อมูล Microsoft PowerPoint 2010.  กรุงเทพฯ : 
           ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2556.
โอ เรียรี, ทิโทธี เจ และ โอ เรียรี, ลินดา.  คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่.  แปลโดย  ศศลักษณ์  
           ทองขาว และคณะ.
  ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด.  กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล, 2555.
Joosten, Tanya.  Social media for educators : strategies and best practices.  San Francisco :  
           Jossey-Bass, [2012]
Wolf, Sara. The Big Six Information Skills as a Metacognitive Scaffold: A Case Study. School 
           Library Media Research
. 6(June), 2003. Accessed 22 July, 2015 from

           http://www.ala.org/aasl/sites/ala.org.aasl/files/content/aaslpubsandjournals/slr
           /vol6/SLMR_BigSixInfoSkills_V6.pdf
3. เอกสารและข้อมูลแนะนำที่นิสิตควรศึกษาเพิ่มเติม
    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
    พระราชบัญญัติลิขสิทธ์
หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา
1. กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนิสิต

2. กลยุทธ์การประเมินการสอน

3. การปรับปรุงการสอน

4. การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิตในรายวิชา
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา


ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา
ลงชื่อ............................................................
       (ผศ.ชุน  เทียมทินกฤต)
วันที่รายงาน   13 ธันวาคม 2559


ลงชื่อ.......................................................
   ( ..................................................)
   วันที่รายงาน ……………………………………


                                                  ลงชื่อ............................................................                  
(.............................................)
วันที่รายงาน ……………………………………

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การใช้สารสนเทศและการสังเคราะห์ (Use of Information and Synthesis)

แหล่งสารสนเทศและการประเมิน

Big 6 Skills กับการรู้สารสนเทศ